วัดมเหยงคณ์ในอดีต เดิมเป็นพระอารามหลวงฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่เคยสำคัญยิ่งมาในอดีตสมัยอยุธยา โดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ (เจ้าสามพระยา) ทรงสร้างขึ้นและได้รับการปฏิสังขรณ์หลายครั้ง ในหลายสมัย แต่ได้กลายเป็นวัดร้าง เข้าใจว่านับตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ รวมเวลาร่วงเลยมา ๒๐๐ กว่าปี
ปัจจุบันเป็นวัดร้างที่สภาพโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ยังเหลืออยู่ได้ปรักหักพังไปมาก แต่ก็พอมีเค้าเป็นหลักฐานบ่งบอกถึงศิลปะการก่อสร้างอันประณีตงดงามมโหฬารและระดับความสำคัญของพระอารามแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี
แนวคิดทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเกี่ยวกับการสร้างวัดมเหยงคณ์ ได้แตกออกเป็น ๒ แนวทาง คือ
ตามพงศาวดารเหนือได้บันทึกไว้ว่า พระนางกัลยาณี
มเหสีของพระเจ้าธรรมราชา (พ.ศ. ๑๘๔๔ – ๑๘๕๓) กษัตริย์องค์ที่ ๘ ของอโยธยาเป็นผู้สร้างวัดมเหยงคณ์
ซึ่งแสดงว่าวัดมเหยงคณ์สร้างในสมัยอโยธยาก่อนตั้งกรุงศรีอยุธยาอย่างน้อย ๔๐ ปี
ส่วนพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา กล่าวว่าศักราช ๗๘๖ มะโรงศก (พ.ศ. ๑๙๖๗) สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า (เจ้าสามพระยา)
กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาเป็นผู้สร้างวัดมเหยงคณ์ขณะที่พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติกล่าวว่าศักราช ๘๐๐ มะเมียศก
(พ.ศ. ๑๙๘๑) สมเด็จบรมราชาธิราชเจ้า (เจ้าสามพระยา) เป็นผู้สร้างวัดมเหยงคณ์
มีการวิเคราะห์กันว่า วัดมเหยงคณ์นั้นถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ครั้งอโยธยา แต่ชำรุดทรุดโทรมเมื่อเวลาผ่านไปกว่า ๑๐๐ ปี ถึงสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชทรงเห็นว่าเป็นวัดเก่าแก่ จึงทรงบูรณะและสร้างเพิ่มเติมให้ใหญ่โตจากโครงสร้างเดิมที่มีอยู่แล้ว วัดมเหยงคณ์ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในสมัยกษัตริย์พระนามว่า พระภูมิมหาราช (พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) ในปีฉลูเอกศก (สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พ.ศ. ๒๒๕๒) วัดมเหยงคณ์ได้เจริญรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยกรุงศรีอยุธยา และคงรุ่งเรืองตลอดมาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาแตกใน พ.ศ.๒๓๑๐
ภายในวัดมหเยงคณ์มีพระอุโบสถตั้งอยู่บานฐานสูง ๒ ชั้นลดหลั่นกัน ขนาดพระอุโบสถกว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๓๖ เมตร นับว่าเป็นพระอุโบสถที่ใหญ่ที่สุดในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลังพระอุโบสถทางทิศตะวันตกพ้นเขตกำแพงแก้ว จะพบพระเจดีย์ฐานช้างล้อมซึ่งเป็นเจดีย์องค์ประธานของวัดมเหยงคณ์ตั้งอยู่บนฐานทักษิณสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวด้านละ ๓๒ เมตร มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีบันไดทางขึ้นทั้ง ๔ ทิศ ที่ฐานทักษิณมีรูปช้างปูนปั้นยืนประดับอยู่ตามซุ้มรอบฐานรวม ๘๐ เชือก องค์เจดีย์ประธานยอดเจดีย์หักตั้งแต่ใต้บัลลังก์ลงมา ฐานชั้นล่างของพระเจดีย์มีซุ้มพระพุทธรูปจตุรทิศยื่นออกมาเห็นชัดเจน
หลังจากสิ้นกรุงศรีอยุธยาวัดมเหยงคณ์ถูกทอดทิ้งให้รกร้าง ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาจนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๒๗ พระครูเกษมธรรมทัต (ปัจจุบันเป็นพระภาวนาเขมคุณ วิ.) ได้จัดตั้งสำนักกรรมฐานขึ้น ในบริเวณวัดมเหยงคณ์ โบราณสถานได้รับการดูแลถากถางพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ที่ขึ้นปกคลุมโบราณสถานไว้ ปรับบริเวณพื้นที่ในฝ่ายพุทธาวาสและสังฆาวาสให้ร่มรื่นและสงบเงียบจากสิ่งรบกวน กรมศิลปากรเองก็เข้ามาดำเนินการขุดแต่งและปฏิบัติงานตามโครงการบูรณะฟื้นฟูดินแดนกลุ่มอโยธยาทำให้สภาพของวัดมเหยงคณ์ ที่เปรียบเสมือนทองคำจมดินอยู่ ได้รับการขัดสีฉวีวรรณให้สุกปลั่ง ปรากฏแก่สายตาของผู้มาพบเห็นได้ชื่นชมและประจักษ์ในคุณค่าของสถาปัตยกรรมในอารามแห่งนี้ได้เต็มที่
ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดมเหยงคณ์เป็นโบราณสถานของชาติ ตั้งแต่วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๔ กรมศิลปากรได้เข้าไปบูรณะ และเนื้อที่นอกเขตโบราณสถานได้จัดเป็นสำนักปฏิบัติกรรมฐาน โดยมีประชาชนเข้าไปรับการอบรมเป็นจำนวนมาก ทางวัดมเหยงคณ์ได้จัดให้มีกิจกรรมทางศาสนามากมาย ได้แก่
ด้วยปณิธานอันแน่วแน่ของท่านพระอาจารย์สุรศักดิ์ ที่มุ่งหวังจะมีส่วนช่วยในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ผสมผสานกับแรงศรัทธาของญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย จึงทำให้บริเวณโดยรอบโบราณสถานวัดมเหยงคณ์ที่เคยเป็นป่าเปลี่ยว รกร้างมานาน ได้กลับกลายเป็นสำนักปฏิบัติกรรมฐาน ที่สงบร่มรื่น ยิ่งนานวัน ก็ยิ่งมีผู้เลื่อมใสศรัทธาเข้ามาบำเพ็ญทาน รักษาศีล และปฏิบัติสมาธิภาวนาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
ด้วยปฏิปทาอันดีงามของท่านพระอาจารย์สุรศักดิ์ จึงทำให้พระอาจารย์ของท่านคือ ท่านพระครูสังวรสมาธิวัตรได้มีบัญชา ให้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดคูบางหลวงอนุกิจวิธูร ตำบล บางหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ในปีพ.ศ.๒๕๒๙ โดยทำหน้าที่ควบคู่ไปกับการเป็นผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติกรรมฐาน วัดมเหยงคณ์ นับเป็นภาระรับผิดชอบที่หนักไม่น้อย
แต่ด้วยผลงานที่ปรากฏชัด จึงทำให้ท่านพระอาจารย์ได้รับเกียรติคุณยิ่งนานัปการ คือ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้โปรดประทาน ปสาทนียบัตร สาขาผู้มีศรัทธาบำเพ็ญประโยชน์ ส่งเสริมการปฏิบัติธรรมแก่เยาวชน เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๓ ในโอกาสเฉลิม พระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ๕ ธันวาคม ๒๕๓๔ ท่านพระอาจารย์ก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นโท โดยได้รับพระราชนามสมณศักดิ์ที่ “พระครูเกษมธรรมทัต” และในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครูสัญญาบัตรชั้นเอก
เกี่ยวกับเรา
วัตถุประสงค์และที่มา
รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ
ตามติดสามเณรน้อย
- YouTube
- Facebook สามเณรน้อยปลูกปัญญาธรรม
- Facebook สามเณรน้อยปลูกปัญญาธรรมนานาชาติ
- Podcast
- Twitter
- Instagram
ดาวน์โหลด
- บริการเสียงเพลงรอสาย
- บทเพลงประกอบรายการ
- บทสวดมนต์ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น